Welcome !

industry-001

อุตสาหกรรมต่างๆ

  • เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร - (Agro & Food Industry)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค - (Consumer Products)
  • ธุรกิจการเงิน - (Financials)
  • สินค้าอุตสาหกรรม - (Industrials)
  • อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง - (Property & Construction)
  • ทรัพยากร - (Resources)
  • บริการ - (Services)
  • เทคโนโลยี - (Technology)

ทำความรู้จัก Telecommunications เทคโนโลยีด้านการโทรคมนาคม

Telecommunications หรือโทรคมนาคม คือ รูปแบบการสื่อสารจากระยะไกลโดยอาศัยเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง หากย้อนกลับไปในยุคเริ่มแรกการโทรคมนาคมเองก็มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดที่พยายามส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดเพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ อาทิ สัญญาณจากควัน สัญญาณโดยใช้แสงไฟ สัญญาณธง การส่งสัญญาณโดยอาศัยการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ การสื่อสารด้วยนกพิราบ ไปจนถึงการใช้เสียงแตร เสียงกลอง ก่อนจะก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
ความทันสมัยของ Telecommunications สู่ความสะดวกสบาย

กระทั่งก้าวมาสู่ช่วงยุคศตวรรษที่ 20 Telecommunications ได้เริ่มมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารในระยะไกลมากขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคลื่นสัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ตาม เช่น โทรศัพท์ โทรเลข สัญญาณวิทยุโทรทัศน์ สัญญาณคลื่นไมโครเวฟ เครือข่ายใยแก้วนำแสง ระบบดาวเทียมสื่อสาร มาจนถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งนี้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ชีวิตสำหรับมนุษย์มาตลอด

องค์ประกอบสำคัญของระบบ Telecommunications

หากสังเกตให้ดีตั้งแต่ในยุคอดีตมาจนถึงทุกวันนี้องค์ประกอบสำคัญของการโทรคมนาคม หรือที่เรียกกันว่า Telecommunications มีหัวใจหลักอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย

  • - จุดเริ่มการส่งสัญญาณ (เครื่องส่งสัญญาณ) มีการรับข้อมูลจากนั้นเกิดการแปลเป็นสัญญาณตามหลักของเทคโนโลยีประเภทนั้น
  • - ตัวกลางสำหรับการส่งสัญญาณ หรือที่เรียกแบบเข้าใจง่ายคือ “ช่องทาง” (Channel) เช่น ช่องทางอากาศ
  • - จุดรับสัญญาณ (เครื่องรับสัญญาณ) จะทำการรับสัญญาณที่ส่งผ่านตัวกลางแล้วแปลงสภาพกลับสู่ข้อมูลเดิมอีกครั้ง

จากหลักการเบื้องต้นดังกล่าวนี่เองทำให้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณพัฒนาแบบก้าวกระโดด มีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยระบบ Telecommunications จนได้รับความนิยมทั่วโลก เช่น โทรศัพท์ เครื่องโทรเลข วิทยุสื่อสาร วิทยุโทรทัศน์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือ

ตัวอย่าง Telecommunications ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน

1. โทรศัพท์มือถือ

นี่คือรูปแบบของการพัฒนาในด้านการโทรคมนาคมที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากสุดคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก จากเดิมการทำงานของมือถือใช้สำหรับรับ-ส่งสัญญาณจากเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไป การใช้งานหากไม่โทรเพื่อพูดคุยกันก็ใช้วิธีส่งข้อความ ทว่าปัจจุบันมือถือกลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตอย่างยิ่งหลังจากมีการพัฒนาให้สามารถรับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ ตามมาด้วยการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารทั้งหลาย เช่น Line, WhatApps, Messenger และอื่น ๆ อีกมากมาย

2. วิทยุและโทรทัศน์

หากบอกว่านี่คือระบบ Telecommunications ที่เคยได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคครึ่งศตวรรษก่อนคงไม่ใช่เรื่องผิดเท่าใดนัก ดั้งเดิมจะใช้วิธีเชื่อมต่อเครือข่ายสัญญาณด้วยระบบแอนาล็อก มีเสาสำหรับรับสัญญาณที่ถูกส่งออกมายังเครื่องรับ กระทั่งมีการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลไม่ต้องใช้เสาอากาศแค่มีกล่องรับสัญญาณทุกอย่างก็เรียบร้อย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้งานกันอย่างต่อเนื่อง

3. อินเทอร์เน็ต

นี่คือสุดยอดของระบบสื่อสารที่ปัจจุบันยังไม่มีสิ่งใดเข้ามาเทียบเคียงได้ทั้งในเรื่องความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย แถมค่าใช้จ่ายไม่แพง ปกติแล้วสัญญาณอินเทอร์เน็ตต้องถูกใช้งานกับคอมพิวเตอร์ซึ่งมี IP Address แต่ละเครื่องแตกต่างกัน แต่ปัจจุบันก็สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายดายขึ้นมาก เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ช่วยให้ทุกอย่างกลายเป็นความสะดวกสบายในแบบที่หลายคนไม่คาดคิดเช่นกัน

ระบบเครือข่ายสื่อสารที่เกี่ยวข้อง

นอกจากการสื่อสารทั่วไปแล้วก็ยังมีระบบเครือข่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความทันสมัยของเทคโนโลยี แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • - PBX (Private Branch Exchange) มีลักษณะเป็นคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นแบบพิเศษมีหน้าที่ในด้านบริหารจัดการและเชื่อมต่อระหว่างวงจรของโทรศัพท์ภายนอกเข้าสู่ภายในองค์กรแบบอัตโนมัติ
  • - LAN (Local Area Network) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้เพียงไม่กี่กิโลเมตรจากตัวปล่อยสัญญาณ นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงขนาดเล็กให้เป็นช่องทางเฉพาะ พร้อมด้วยการสร้างระบบซอฟต์แวร์ของตนเองอย่าง NOS
  • - WAN ((Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่ขอบเขตกว้างหลักพันกิโลเมตร ต่อให้อยู่คนละซีกโลกก็ไม่ใช่ปัญหาใด ๆ ในการสื่อสาร

นี่คือข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Telecommunications ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะยังมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประโยชน์แทบทั้งหมดก็ตกอยู่กับผู้ใช้งานทุก ๆ คน อย่างไรก็ตามควรใช้ไปในทางที่ถูกต้อง ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือปัญหาต่อผู้อื่นและสังคม มีสติและหมั่นศึกษาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอด้วย